บ้านมือสองที่มีสภาพเก่าโทรมหรือสภาพเดิมๆ ไม่ตอบโจทย์การใช้งาน ก่อนจะเข้าอยู่ได้จึงต้องทำการรีโนเวทซ่อมแซมให้อยู่ในสภาพดีและมีฟังก์ชันที่น่าอยู่อาศัย
Home Buyers Team
25 มีนาคม 2568
บ้านมือสองที่มีสภาพเก่าโทรมหรือสภาพเดิมๆ ไม่ตอบโจทย์การใช้งาน ก่อนจะเข้าอยู่ได้จึงต้องทำการรีโนเวทซ่อมแซมให้อยู่ในสภาพดีและมีฟังก์ชันที่น่าอยู่อาศัย
ในขั้นตอนการซ่อมแซมและรีโนเวท มักมีการต่อเติมบางส่วนของบ้านอยู่ด้วย ซึ่งเรื่องนี้ใช่ว่ามีเงินพร้อม มีทีมช่างพร้อม แล้วจะลงมือได้ทันทีนะคะ เพราะมีกฎหมาย พระราชบัญญัติควบคุมอาคาร พ.ศ. 2522 ให้เราต้องดำเนินการขออนุญาตต่อเติมอย่างถูกต้องเสียก่อน
วันนี้ Home Hug by Home Buyers ก็เลยมี กฎหมายต่อเติมบ้านที่ควรรู้ ก่อนซื้อบ้านมือสองมารีโนเวท มาแนะนำให้เพื่อนๆ ที่กำลังคิดจะซ่อมแซม ต่อเติม และรีโนเวทบ้านมือสอง ได้เตรียมตัวกันค่ะ
พระราชบัญญัติควบคุมอาคาร พ.ศ.2522 มาตรา 21 และ 39 ทวิ คือกฎหมายที่เกี่ยวข้องกับการต่อเติมบ้านโดยตรง โดยใจความสำคัญก็คือ การจะดัดแปลง ต่อเติมอาคาร ต้องแจ้งและต้องได้รับอนุญาตจากเจ้าพนักงานท้องถิ่นก่อนเสมอ พร้อมต้องยื่นแบบแปลน รวมถึงชื่อสถาปนิกและวิศวกรที่ควบคุมงาน ให้เจ้าพนักงานทราบด้วย โดยมีข้อสำคัญที่บุคคลทั่วไปต้องรู้ดังนี้ค่ะ
ตาม พรบ.ควบคุมอาคาร พ.ศ.2522 ไม่อนุญาตให้ต่อเติมบ้านจนเต็มขนาดแปลงที่ดิน ต้องเว้นที่ว่างของตัวบ้านกับเขตที่ดินของตัวเองอย่างน้อย 30% ของพื้นที่ดินทั้งหมด เพื่อป้องกันไฟไหม้ลุกลาม เพราะถ้าตัวบ้านติดกันไฟจะลามไปหลังอื่นๆ ได้ง่าย พนักงานดับเพลิงเข้าไประงับเหตุยาก นอกจากนี้ถ้าบ้านอยู่ติดกันมากไปจะทำให้อากาศถ่ายเทได้ไม่ดีจนเกิดปัญหาบ้านอับชื้น
สำหรับบ้านที่มีความสูงไม่เกิน 9 ม. ต้องเว้นระยะห่างของผนังฝั่งที่มีช่องเปิดอย่าง ประตู หน้าต่าง รวมถึงระเบียงบ้าน ห่างจากแนวเขตที่ดินอย่างน้อย 2 ม. แต่ถ้าเป็นผนังทึบสามารถสร้างชิดรั้วได้มากสุด ไม่น้อยกว่า 50 ซม. แต่ถ้าบ้านเป็นอาคารที่มีความสูงมากกว่า 9 ม. แต่ไม่เกิน 23 ม. ผนังฝั่งที่มีช่องเปิดจะต้องอยู่ห่างจากแนวเขตที่ดินอย่างน้อย 3 ม.
นอกจากการต่อเติมโดยเว้นระยะร่นตามที่กฎหมายกำหนดในข้อที่แล้ว อีกเรื่องที่มองข้ามไม่ได้คือการบอกกล่าวเพื่อนบ้านให้รับทราบและยินยอมให้ต่อเติมบ้าน เพราะส่วนต่อเติมของบ้านเราอาจกระทบต่อความเป็นอยู่ของเพื่อนบ้านได้ จึงต้องบอกกล่าว ตกลงหาทางออกร่วมกัน และมีหนังสือให้ความยินยอมอย่างเป็นลายลักษณ์อักษร หากเราต่อเติมไปโดยพลการ แล้วเพื่อนบ้านร้องเรียนกับสำนักงานเขต ถ้าเจ้าพนักงานมาตรวจสอบพบความผิดจริงก็สามารถสั่งให้รื้อถอนส่วนต่อเติมได้เลย
ถึงบ้านจะเป็นทรัพย์สินของเรา ก็ใช่ว่าจะต่อเติมอย่างไรก็ได้ตามใจชอบ ถ้าการต่อเติมบ้านของเราเข้าข่ายต่อไปนี้ จะต้องมีใบอนุญาตจากเจ้าพนักงานขององค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นก่อน
ในการทำเรื่องขออนุญาตต่อเติมบ้านกับเจ้าพนักงานขององค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น จะต้องมีแบบแปลนที่ได้รับการรับรองจากสถาปนิกและวิศวกรผู้ควบคุมการก่อสร้างอาคาร กรณีที่มีการเปลี่ยนแปลงวัสดุ ก็จำเป็นต้องให้วิศวกรคำนวณ เพื่อสรุปว่าการต่อเติมนั้นจะสามารถอนุญาตให้ต่อเติมได้หรือไม่ โดยจำเป็นต้องคำนึงถึงหลักความปลอดภัยเป็นสำคัญ
ถือเป็นเรื่องสำคัญมากๆ เลยนะคะที่เราต้องรับผิดชอบการต่อเติมให้ถูกต้องตามกฏหมาย หากเจ้าของบ้านไม่ปฏิบัติตามแล้วมีผู้ร้องเรียน เจ้าของบ้านจะต้องโทษจำคุก ไม่เกิน 3 เดือน ปรับไม่เกิน 60,000 บาท หรือทั้งจำทั้งปรับ และถูกสั่งให้รื้อถอนส่วนต่อเติมด้วยค่ะ